แถลงการณ์พรรคคอมมิวนิสต์

4. ท่าทีของชาวพรรคคอมมิวนิสต์

ที่มีต่อพรรคฝ่ายค้านต่างๆ

เมื่ออ่านบทที่ ๒ แล้ว ก็สามารถเข้าใจท่าทีของชาวพรรคคอมมิวนิสต์ที่มีต่อพรรคการเมืองของชนชั้นกรรมกรที่ก่อรูปขึ้นแล้วและก็สามารถเข้าใจท่าทีของพวกเขาที่มีต่อพวกชาร์ติสต์ในอังกฤษและพวกปฏิรูปที่ดินในอเมริกาเหนือ

ชาวพรรคคอมมิวนิสต์ต่อสู้เพื่อจุดหมายและผลประโยชน์อันใกล้สุดของชนชั้นกรรมกร แต่ขณะเดียวกัน ในการเคลื่อนไหวเฉพาะหน้านี้ พวกเขาก็เป็นตัวแทนของอนาคตของการเคลื่อนไหวด้วยในฝรั่งเศส ชาวพรรคคอมมิวนิสต์ร่วมกับพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตย [1] คัดค้านชนชั้นนายทุนที่อนุรักษ์และหัวรุนแรง แต่ทั้งนี้ก็มิได้ทิ้งสิทธิในการใช้ท่าทีวิพากษ์การพูดลม ๆ แล้ง ๆ และความเพื้อฝันซึ่งสืบทอดมาจากการปฏิวัติใหญ่เหล่านั้นไป

ในสวิตเซอร์แลนด์ ชาวพรรคคอมมิวนิสต์สนับสนุนพรรคราดิกัล แต่ก็มิได้มองข้ามข้อที่ว่าพรรคการเมืองนี้ประกอบด้วยพวกที่ขัดแย้งกัน ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นพวกประชาธิปไตยสังคมนิยมแบบฝรั่งเศส อีกส่วนหนึ่งเป็นพวกนายทุนหัวรุนแรง

ในหมู่ชาวโปแลนด์ ชาวพรรคคอมมิวนิสต์สนับสนุนพรรคการเมืองที่ถือการปฏิวัติที่ดินเป็นเงื่อนไขแห่งการปลดแอกประชาชาติ ซึ่งก็คือ พรรคการเมืองที่ก่อการลุกขึ้นสู้ที่คราคอฟเมื่อปี ๑๘๔๖

ในเยอรมันนี เมื่อใดที่ชนชั้นายทุนใช้การปฏิบัติการที่ปฏิวัติพรรคคอมมิวนิสต์ก็ร่วมกับชนชั้นนี้คัดค้านระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ระบอบกรรมสิทธิ์ในที่ดินแบบขุนนางและลักษณธปฏิกิริยาของชาวเมืองนายทุนน้อย

แต่พรรคคอมมิวนิสต์มิได้ละเลยแม้แต่วินาทีเดียวที่จะให้การศึกษาแก่กรรมกรให้มีจิตสำนึกอย่างแจ่มแจ้งที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ในความเป็นปฏิปักษ์ที่เป็นศัตรูกันระหว่างชนชั้นนายทุนกับชนชั้นกรรมาชีพ เพื่อกรรมกรเยอรมันจะได้สามารถใช้เงื่อนไขทางสังคมและทางการเมืองที่การปกครองของชนชั้นนายทุนจะต้องนำมาอย่างแน่นอนนั้นเป็นอาวุธในการคัดค้านชนชั้นนายทุนทันที และจะได้เริ่มการต่อสู้คัดค้านตัวชนชั้นนายทุนเองทันทีหลังจากโค่นชนชั้นปฏิกิริยาในเยอรมันนีแล้ว

ชาวพรรคคอมมิวนิสต์รวมศูนย์ความสนใจที่สำคัญของตนไปยังเยอรมันนี ทั้งนี้ เพราะว่าเยอรมันนีกำลังอยู่ในวังก่อนหน้าการปฏิวัติชนชั้นนายทุน เพราะว่าเมื่อเทียบกับอังกฤษในศตวรรษที่ ๑๗ และฝรั่งเศสในศตวรรษที่ ๑๘ แล้ว ภายใต้เงื่อนไขที่อารยธรรมของทั่วทั้งยุโรปก้าวหน้ายิ่งกว่าเยอรมันนีจะมีชนชั้นกรรมาชีพที่พัฒนามากยิ่งกว่าไปบรรลุการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงนี้ ฉะนั้น การปฏิวัตชนชั้นนายทุนในเยอรมนีจึงเป็นได้ก็แต่การโหมโรงโดยตรงของการปฏิวัติชนชั้นกรรมาชีพเท่านั้น

กล่าวโดยสรุป ชาวพรรคคอมมิวนิสต์ไม่ว่าในที่ใดล้วนสนับสนุนการเคลื่อนไหวปฏิวัติทั้งปวงที่คัดค้านระบอบสังคมและระบอบการเมืองที่มีอยู่ในเวลานี้

ในการเคลื่อนไหวทั้งหมดเหล่านั้น พวกเขาล้วนเน้นเป็นพิเศษในปัญหาระบอบกรรมสิทธิ์ โดยถือเป็นปัญหาพื้นฐานของการเคลื่อนไหว ไม่ว่าปัญหานี้ในเวลานั้นจะพัฒนาไปในระดับแค่ไหนก็ตาม

สุดท้าย ชาวพรรคคอมมิวนิสต์ไม่ว่าในที่ใดล้วนแต่พยายามช่วงชิงความสามัคคีและความตกลงร่วมมือระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์ประชาธิปไตยทั่วโลก

ชาวพรรคคอมมิวนิสต์ไม่ต้องการปกปิดอำพรางทรรศนะและความมุ่งหมายของตน พวกเขาประกาศอย่างเปิดเผยว่าจุดหมายของพวกเขาจะบรรลุได้ก็มีแต่ใช้ความรุนแรงโค่นระบอบสังคมที่ดำรงอยู่ในปัจจุบันทั้งหมดเท่านั้น ปล่อยให้ชนชั้นปกครองตัวสั่นอยู่เบื้องหน้าการปฏิวัติลัทธิคอมมิวนิสต์ไปเถิด ในการปฏิวัตินี้ชนกรรมาชีพจะไม่สูญเสียอะไรเลยนอกจากโซ่ตรวนเท่านั้น สิ่งที่พวกเขาจะได้มาก็คือ โลกทั้งโลก

ชนกรรมาชีพทั่วโลกจงสามัคคีกัน!


1. ผู้แทนในสภาของพรรคนี้เสลานั้นคือ เลอดู - โรแลน ตัวแทนในวงการประพันธ์คือ หลุยส์ บลังค์ ตัวแทนด้านหนังสือพิมพ์ คือ หนังสือพิมพ์ “ลาเรฟอร์ม” ชื่อ “พรรคสังคมนิยมประชาธิปไตย” นี้ ในหมู่ผู้ประดิษฐ์ชื่อดังกล่าวหมายถึงคนส่วนหนึ่งในพรรคประชาธิปไตยหรือพรรครีปับลิกันที่มีสีสันสังคมนิยมอยู่ไม่มากก็น้อย (หมายเหตุโดยเองเกิลส์ในฉบับภาษาอังกฤษปี ๑๘๘๘)

เวลานั้นพรรคการเมืองที่ใช้ชื่อพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยในฝรั่งเศสนั้น ตัวแทนด้านการเมืองคือ เลอดู- โรแลน ตัวแทนในวงการประพันธ์คือหลุย บลังค์ ดังนั้น จึงต่างกับพรรคสังคมประชาธิปไตยเยอรมันในเวลานี้ราวฟ้ากับดิน (หมายเหตุโดยเองเกิลส์ในฉบับภาษาเยอรมันปี ๑๘๙๐) ในที่นี้หมายถึงผู้สนับสนุนหนังสือพิมพ์ “ลา เรฟอร์ม” (“ ปฏิรูป”) พวกเขามีความคิดเห็นใหสถาปนาสาธารณรัฐและดำเนินการปฏิรูปทางประชาธิปไตยและทางสังคม

พวก ชาร์ติสต์ คือขบวนการในหมู่แรงงานที่เคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตยในอังกฤษ